จะเห็นว่าใครๆก็เป็นฝ้าได้ เราจึงมีวิธีป้องกันง่ายๆ ค่ะ ก็คือให้ระวังปัจจัยที่จะกระตุ้นให้เกิดฝ้า เช่น หลบเลี่ยงแสงแดดด้วยการกางร่ม หรือสวมหมวกปีกกว้าง ในช่วงเวลา 10.00-14.00 น. ซึ่งเป็นช่วงที่มีค่า UVA กับ UVB สูง และผิวจะถูกทำร้ายมากที่สุด หรือเลือกซื้อครีมกันแดดที่มีค่า SPF30/PA+++ ขึ้นไป ฝ้าหรือปื้นสีน้ำตาลที่เกิดขึ้นบริเวณผิวหน้า มักพบในผู้หญิงวัยกลางคน 30-40 ปี ขึ้นไป (อาจขึ้นบริเวณหน้าอกช่วงบน ริมฝีปาก ด้วยก็ได้)
สิ่งกระตุ้นให้เกิดฝ้า
1.แสงแดด เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่กระตุ้นให้เกิดฝ้า โดยเฉพาะแสงแดดในช่วงเที่ยงวัน ที่จะมีความร้อนมากด้วย
2.ฮอร์โมนเพศหญิง ทำให้มักพบผู้ป่วยที่เป็นฝ้าขณะตั้งครรภ์ หรือในคนที่ใช้ยาคุมกำเนิด
3.ยารับประทานบางชนิด
4.เครื่องสำอาง อาจพบสารบางอย่าง เช่น น้ำหอม หรือสีในเครื่องสำอาง ที่ทำให้เกิดอาการแพ้แล้วกลายเป็นรอยดำแบบฝ้าได้
5.พันธุกรรม อาจพบว่าคนที่เป็นฝ้าจะมีคนในครอบครัวเป็นเหมือนกัน ประมาณ 30-50%
6.ภาวะผิดปกติทางการแพทย์ เช่น เป็นโรคตับ ขาดวิตามิน B12 ภาวะเม็ดเลือดแดงมีความเข้มข้นสูงเป็นต้น
ในปัจจุบันมียาทาฝ้าชนิดต่างๆวางขายมากมายในท้องตลาด ผู้ป่วยควรศึกษาส่วนประกอบและคุณภาพของครีมดังกล่าวให้ดีพอก่อนการตัดสินใจ เพราะทางการแพทย์พบว่ามียาฝ้าจำนวนมากที่วางขาย โดยไม่ได้ผ่านการตรวจสอบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เมื่อผู้ป่วยใช้แล้วทำให้เกิดการระคาย บวมแดงในระยะแรกที่ใช้ และถึงแม้ว่าครีมบางชนิดไม่เกิดผลข้างเคียงในระยะแรก แต่อาจทำให้เกิดผิวบางแดง มองเห็นเส้นเลือดฝอย กลายเป็นฝ้าเส้นเลือด ซึ่งรักษาให้หายยากมากยิ่งขึ้น ผู้ป่วยบางรายกลับมีหน้าดำมากยิ่งกว่าเดิมจากการแพ้หรือจากการใช้ยาฝ้าเป็น เวลานาน ที่เรียกว่า ภาวะโอโครโนซิส (Ochronosis) ดังนั้นผู้ป่วยควรไปรับการตรวจรักษาจากแพทย์ผิวหนังโดยตรง เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาดังกล่าว
หลายๆคนอาจพยายามหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยรักษาฝ้า เช่นครีมที่วางขายอยู่มากมายตามท้องตลาด หรือในอินเตอร์เนท ซึ่งปัจจุบันต้องระวังเป็นอย่างมากเนื่องจากพบว่ามีเครื่องสำอางหลายตัวที่มีการผสมสารที่เป็นอันตรายกับผิว โดยไม่ผ่าน อย. ซึ่งครีมเหล่านี้อาจเห็นผลได้ดีในระยะแรก แต่เมื่อใช้ไปนานมากขึ้น อาจเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง รักษาไม่หายเช่น ผิวบางแดง เส้นเลือดฝอยชัดขึ้น หรือกลายรอยฝ้าดำเข้มถาวรไปเลย
ปัจจุบันจะมีส่วนผสมของ skincare หลายชนิดที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยในการรักษาฝ้า เช่น licorice , arbutin, kojic, niacinamide ถึงแม้จะได้ผลไม่มากนักแต่ก็มีความปลอดภัย ถ้าในคนที่อาการฝ้าเป็นน้อย จาง ๆ ก็สามารถใช้รักษาได้ดี สำหรับยาชนิดอื่นที่แพทย์เลือกใช้ จะมีความสามารถในการรักษาฝ้าได้ดี เห็นผลชัดเจนกว่า แต่ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์เนื่องจากต้องมีการติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับการใช้ยาให้ถูกต้องเหมาะสม และแพทย์จะสามารถแก้ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้
วิธีรักษาฝ้าจากภายใน
1.ทานอาหารที่มีประโยชน์ อาหารจำพวกผักใบเขียว ที่มีสารเบต้าแคโรทีน อาหารที่มีวิตามินซี อี เอ บี ได้แก่ บล็อคโคลี แครอท คะน้า ผักโขม รวมถึง นม มะละกอสุก แคนตาลูบ เมล็ดฟักทองหรือเมล็ดทานตะวัน รวมถึง กระเทียม หอยนางรม แอปเปิ้ลเขียว ผลไม้ตระกูลส้ม ฯลฯ ที่จะทำให้ลดการอักเสบของผิวหนัง และไปยับยั้งการเกิดสิว ฝ้า กระ ได้
2.ทานอาหารเสริม เลือกอาหารเสริมที่มีส่วนผสมของวิตามินเอ วิตามินซี และวิตามินอี ที่เป็นตัวช่วยทำให้ผิวแข็งแรงขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ฝ้าขยายตัวใหญ่ขึ้น
3.น้ำเปล่า เป็นยาวิเศษที่จะช่วยชะล้างสิ่งสกปรกในร่างกาย ช่วยขับสารพิษ ซึ่งเป็นสาเหตุของสิว ฝ้า กระ
4.ออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายให้ได้อย่างน้อยวันละ 30 นาที เพื่อช่วยให้ร่างกายภายใน และภายนอกแข็งแรงขึ้น ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ลดการเกิดสิว ฝ้า ผิวเปล่งปลั่ง แข็งแรง
5.ลดความเครียด ความเครียดจะส่งผลให้เกิดอนุมูลอิสระ จนรอยฝ้าชัด และเพิ่มมากยิ่งขึ้น จึงควรหลีกเลี่ยง หรือลดความเพื่อจะช่วยให้ร่างกายลดการเกิดอนุมูลอิสระ ลดรอยฝ้าได้