ทำไมน้ำมันมะพร้าวกับกะทิต่างกันตรงไหน? กินกะทิได้หรือไม่อย่างไร?
คำตอบที่ : แท้ที่จริงแล้วน้ำมันมะพร้าวก็ผลิตและสกัดมาจากกะทิ โดยกะทิ 4 ส่วนจะได้น้ำมันมะพร้าว 1 ส่วน เพียงแต่เราไม่ได้บริโภคน้ำมันอย่างเดียวแต่บริโภคส่วนอื่นที่ได้จากกะทิไปด้วย ทำให้ต้องดื่มในปริมาณที่ต้องมากกว่า อย่างไรก็ตามการดื่มกะทิสดมักไม่ค่อยนิยมกัน และมักจะทานกับอาหารอย่างอื่นเช่นอาหารคาวหรือหวาน ผู้บริโภคจึงต้องระมัดระวังไม่ให้รับประทานหวานมากเกินไปด้วย
คำถามที่ : ทำไมดื่มน้ำมันมะพร้าวแล้วรู้สึกท้องอืด และจะทำอย่างไรดี?
คำตอบที่ : ความจริงแล้วคนที่ดื่มน้ำมันมะพร้าวจะมีความรู้สึก “อิ่ม” มากกว่า”ท้องอืด” เพียงแต่อาจไม่คุ้นชินกับความรู้สึกได้รับพลังงานที่เพียงพอจากน้ำมันมะพร้าว เพราะน้ำมันมะพร้าวจะเป็นกรดไขมันสายปานกลาง ดูดซึมเป็นพลังงานแก่ตับได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ตกค้าง ต่างจากน้ำมันชนิดอื่นที่ส่วนใหญ่เป็นกรดไขมันสายยาว ดังนั้นคนที่ดื่มน้ำมันมะพร้าวแล้วรู้สึกท้องอืดนั้น อาจเป็นเพราะดื่มน้ำมันมะพร้าวแล้วไม่ทิ้งช่วงให้นานพอแล้วไปบริโภคอาหารในปริมาณตามที่เคยคุ้นชิน ผลก็คือเราได้รับปริมาณอาหารที่ให้พลังงานมากเกินความต้องการที่แท้จริงจึงอาจทำให้รู้สึกท้องอืดขึ้นมาได้ ดังนั้นการดื่มน้ำมันมะพร้าวควรมีเวลาให้เพียงพอระหว่างอย่างน้อย 30 นาที หรือจะให้ดีคือ 1 ชั่วโมง เพื่อให้ตัวเราได้พิจารณาว่าเราควรบริโภคอาหารเพิ่มเติมอีกเท่าไหร่ ดังนั้นหากปฏิบัติตามวิธีการดังกล่าวยังมีความรู้สึกท้องอืดอยู่ ก็ให้ลดปริมาณน้ำมันมะพร้าวให้น้อยลง
คำถามที่ : น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น กับ น้ำมันมะพร้าวแบบปรุงอาหาร (สีเหลืองนั้น) แตกต่างกันตรงไหน แล้วใช้ทดแทนกันได้หรือไม่?
คำตอบที่ : น้ำมันมะพร้าวพรหมจรรย์ (สกัดเย็น ไม่มีสี) คือน้ำมันมะพร้าวที่ได้มาจากเนื้อมะพร้าวแล้วนำมาสกัดน้ำมันโดยไม่ผ่านความร้อน จึงได้กรดไขมันที่มีคุณภาพทั้งแร่ธาตุ สารอาหาร ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ และสามารถนำมาผ่านความร้อนได้ด้วย เพียงแต่สำหรับคนที่ไม่คุ้นชินกับกลิ่นของน้ำมันมะพร้าวในทุกเมนูอาจไม่ชอบนำน้ำมันมะพร้าวพรหมจรรย์ไปประกอบอาหาร ดังนั้นจึงมีน้ำมันมะพร้าวแบบปรุงอาหารคือนำเนื้อมะพร้าวที่เหลือจากน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นนำมาอบไล่ควันและไล่กลิ่นจึ จากนั้นจึงผ่านกระบวนการสกัดน้ำมันอีกครั้งหนึ่ง น้ำมันชนิดนี้จึงมีสีเหลืองทองสามารถทำมาประกอบอาหาร เช่น ผัด ทอด ได้โดยไม่มีกลิ่นเหมือนน้ำมันมะพร้าวพรหมจรรย์ และไม่ก่อให้เกิดผลร้ายใดๆต่อสุขภาพเมื่อเทียบกับน้ำมันปรุงอาหารที่ไม่อิ่มตัวชนิดอื่นๆ แต่ไม่สามารถมีคุณภาพที่ดีต่อสุขภาพทัดเทียมกับน้ำมันมะพร้าวพรหมจรรย์ (สกัดเย็น) ได้